กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520

กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 เป็นความพยายามก่อรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร โดย พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกองกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก สวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520โดยเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์หลังการจลาจลและรัฐประหารในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ผ่านมาได้ 3 เดือน มีความวิตกกังวลและตรึงเครียดอยู่เสมอ ๆ ว่า อาจจะมีการรัฐประหารซ้อนขึ้นมาจากทหารกลุ่มที่ไม่ใช่ทหารที่มีอำนาจอยู่ในขณะนั้น (สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน) จนกระทั่งเกิดขึ้นจริงในเวลาเช้ามืดของวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 เมื่อทหารกลุ่มหนึ่ง ที่นำโดย พล.อ.ฉลาด ซึ่งเป็นอดีตรองผู้บัญชาการทหารบกที่ยังมีอิทธิพลอยู่ในกองทัพ จำนวน 300 นาย จาก กองพันทหารราบที่ 19 พัน 1, 2 และ 3 แต่งเครื่องแบบสนามติดธงไตรรงค์เล็ก ๆ ที่ต้นแขนเพื่อเป็นสัญลักษณ์ พร้อมอาวุธปืน เคลื่อนกำลังเข้ายึดสถานที่สำคัญต่าง ๆ ดังที่ปรากฏข้างต้น ซึ่งเป็นส่วนบัญชาการในกรุงเทพมหานครต่อมาในเวลาสาย คณะผู้ก่อการที่นำโดย พล.อ.ฉลาด ได้ออกประกาศทางวิทยุกระจายเสียงเป็นแถลงการณ์ อ้างถึงความเสื่อมโทรมด้านต่าง ๆ และอ้างเหตุของการยึดอำนาจ โดยมีใจความว่าทั้งนี้เพื่อเป็นแกนกลางของบรรดาผู้รักชาติที่จะร่วมมือกันที่จะแก้ไขสถานการณ์บ้านเมืองให้ดีขึ้น และเพื่อสถาปนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้สำเร็จโดยเร็วที่สุดโดยอ้างว่า แถลงการณ์ฉบับนี้ลงนามโดย พล.อ.ประเสริฐ ธรรมศิริ รองผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ซึ่งเป็นนายทหารที่บรรดากำลังพลในกองทัพให้ความเคารพนับถืออยู่ ซึ่งในเหตุการณ์นี้ได้มีนักการเมืองที่มีชื่อเสียง 2 คน เข้าร่วมด้วย คือ นายวีระ มุสิกพงศ์ และ พ.ท. สนั่น ขจรประศาสน์จากแถลงการณ์นี้ทำให้ รัฐมนตรีร่วมรัฐบาลท่านหนึ่งที่อยู่ที่ต่างจังหวัด ถึงกับคิดว่ารัฐบาลถูกยึดอำนาจไปแล้วเรียบร้อย รีบเดินทางกลับกรุงเทพฯ และคืนรถประจำตำแหน่งและกลับบ้านพักของตัวเองต่อมาเมื่อเวลาผ่านไปราว 1 ชั่วโมง ฝ่ายรัฐบาลในขณะนั้นนำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อ.กมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพล.อ.เสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้รวมตัวกันและออกแถลงการณ์ตอบโต้ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ยืนยันว่า กองกำลังทหารและตำรวจยังยืนอยู่ข้างรัฐบาล และอ้างว่า พล.อ.ประเสริฐ ถูกบังคับให้ลงนามโดยที่ไม่เต็มใจ และได้ร่วมกันปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ โดยเข้าปิดล้อม จนนำไปสู่การเจรจาและฝ่ายผู้ก่อการยอมมอบตัวและขอให้ผู้นำการปฏิบัติการครั้งนี้ลี้ภัยไปยังต่างประเทศ แต่เอาเข้าจริงแล้ว พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ ผู้นำการก่อการถูกจับและถูกดำเนินคดี ด้วยการถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 ในวันที่ 21 เมษายน ปีเดียวกันนั้น นับเป็นกบฏคนสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตตราบจนบัดนี้[1][2]โดยในเหตุการณ์ครั้งนี้ พล.ต.อรุณ ทวาทศิน ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ถูกยิงเสียชีวิตด้วยจาก พล.อ.ฉลาด เมื่อเป็นผู้พยายามเข้าไปแย่งปืนจาก พล.อ.ฉลาด ระหว่างที่ถูกควบคุมตัว ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความพยายามในการรัฐประหารครั้งนี้ล้มเหลว เนื่องจากขาดกำลังสนับสนุนจากทหารในกองพลที่ 1 ซึ่งเป็นทหารที่คุมกำลังในกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวง[3]อย่างไรก็ตาม ในที่สุด พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ก็ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศได้สำเร็จในวันที่ 20 ตุลาคม ปีเดียวกับกบฏครั้งนี้ หรืออีก 7 เดือนต่อมานั่นเอง

กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่26 มีนาคม พ.ศ. 2520
สถานที่กรุงเทพมหานคร
ผลลัพธ์พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิต
พลตรี อรุณ ทวาทศิน เสียชีวิต
สถานที่ กรุงเทพมหานคร
ผลลัพธ์ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิต
พลตรี อรุณ ทวาทศิน เสียชีวิต
วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520